ธันวาคม 18, 2549

ความทรงจำ...โปรเจค...หลักประกัน

ผมถูกมอบหมายให้ดูเรื่องใหม่
.................................................
วันนั้น จำได้ว่า ถูกเรียกไปประชุมเรื่อง
ระบบหลักประกัน หรือ คอลแลตเทอรอล
ไม่กี่วัน หลังจากเฟสสอง โกไลฟ ไป
ฝรั่งถูกเชิญมา ผมเข้าไปฟัง ฝรั่งอธิบาย
เขาพยายามทำให้ระบบมาตรฐาน มาประยุกต์
เพื่อลดจำนวนการสร้าง หรือคัสตอมไมซ์ลง
โดยพยายามจับนู่นผสมนี่เข้าด้วยกัน
ผม ตอนนั้น ยังใหม่อยู่ ก็ได้แต่งงๆ
ไม่ค่อยเข้าใจ สิ่งที่ฝรั่งพูด

แต่สรุปท้ายสุด เราไม่ใช่ระบบมาตฐานเดิม
แต่เราจะสร้างมันใหม่ทั้งหมด เรียกว่าสร้างทุกอย่าง
กันใหม่หมดเลย ตั้งแต่แบคจนฟรอนท์ (หน้าจอ)

ตามเทคนิคอลเสป๊ก ที่ได้มาเมื่อหลายปีก่อน
ก่อนที่ผมจะเข้ามาทำงานที่นี่อีก ผมออกแบบสร้าง
ฐานข้อมูลใหม่ สำหรับรองรับความต้องการของระบบ
ที่มีความสัมพันธ์แบบ เมนี่ ทู เมนี่
โดยการช่วยเหลือของน้องๆทีมโปรแกรมมิ่ง
ได้แก่ หนิง ภาคย์ (และน้องพงศ์ที่เข้ามาช่วยทีหลัง)
เราค่อยๆพัฒนาโปรเจคกันอย่างรีบเร่ง เพราะมีกำหนดการณ์
ชัดเจนตามแผน

จึงเป็นเรื่องปกติที่การทำงานของเรา เลิกงานกันเกือบเที่ยงคืน
เป็นการทำงานที่ดึงเอาชีวิตของพวกเราไปอย่างมาก
จำได้ว่า วันที่จะส่งระบบขึ้นทดสอบ คืนนั้นทั้งคืน ไม่ได้กลับบ้าน
หลับคาเก้าอี้เลย

อ้อ สิ่งที่ลืมไม่ได้เลย คือตอนทำงาน ผมเป็นคนประสานงาน
เพื่อนำระบบเก่ามาสร้าง คอยติดต่อ สอบถาม
และขอข้อมูลต่างๆ กับทางลูกค้า

เมื่อระบบเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง สิ่งต่อไปคือการคอนเวิรซข้อมูลเก่า
เข้ามาสู่ระบบ เพื่อสร้างข้อมูลใหม่ๆ

ปัญหาคือ การขึ้นระบบ จะไม่ทำแบบ บิ๊กแบง คือไม่เปลี่ยนทันที
ในวัน โกไลฟ์ เราจึงใช้วิธีการทำเป็น พาราเลล
หมายถึงว่า ให้ระบบเดิมยังทำงานอยู่ แต่จะมีการดึงข้อมูลจากระบบเดิม
เข้ามายังระบบใหม่ ด้วยวิธีการ อิมพอร์ตเข้ามาทุกวันเสาร์
โปรแกรมตัวอิมพอร์ต สร้างโดยมือโปรชาวอเมริกัน ชื่ออลัน (เก่งมาก)
โดยคนที่เขียนเทค เสป๊ก ให้กับชายแห่งตำนานผู้นั้น คือผมเอง
ผมได้รับมอบหมายแบบจรวดพุ่งปรี๊ด ไม่ตั้งตัว
หัวหน้าบอกว่า ตกลงใช้ไอเดียร์พาราเลลรันนะ ให้ผมทำเสปกด้วย
ผมก็ทำครับ และใช้เวลาไม่นาน ก็ได้โปรแกรมมา เรียกว่า แบทซิงค์

ยอมรับว่า การทดสอบแบทซิงค์ พบปัญหาและไม่พบปัญหา
จนบางปัญหา เราปล่อยให้ผ่านหลังโกไลฟ์จริงๆ แล้วมาแก้ทีหลัง
นับว่าการตรวจสอบซอฟต์แวร์นั้น ต้องละเอียดถี่ท้วนมากๆ
และคนทำควรรู้ว่า จะสร้างสภาพแวดล้อมอย่างไรให้สามารถ
ตรวจสอบทุกๆ กรณีได้ ซึ่งยากพอสมควรเลย แม้แต่คนที่เชี่ยวชาญ
ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมี "หลุด" นะครับ

หลังจากระบบขึ้นไปเป็นแบบพาราเลลแล้ว ยังมีปัญหาตามมา คือ
ข้อมูลที่ได้มาอยู่ในระบบใหม่จากการอิมพอร์ต กับข้อมูลที่เก็บจริง
ในระบบเดิม เมื่อเอกซแทรค ออกมาเพื่อนำไปใช้ต่อไป
มีค่าไม่เท่ากัน ต้องมีการแก้ไข เรียกว่า คลีนซิ่ง

เมนหลักในการคลีนซิ่ง มีผม ภาคย์ และพี่ไพรัช โดยมีหัวหน้าใหญ่เป็นผู้
ตามงานและให้ข้อคิดเห็นดีๆ ตลอดการทำงาน
จำได้ว่า ตอนช่วงคลีนซิ่งนั้น เป็นช่วงที่งานเริ่มเบา เพราะโปรเจค
ได้ขึ้นไปจนจะหมดแล้ว เรื่องหลักประกันนี่ ยังไม่เสร็จ เพราะยังพาราเลล
จึงทำให้ผม ภาคย์ มักทำงานกันต่อตอนที่เพื่อนๆที่ทำงานกลับกันแล้ว
มันเป็นความรู้สึกดีๆ เพราะงานถึงจะหนัก แต่เราเข้าใจว่าเราทำอะไร
มันคือคุณค่าของการทำงานครับ ได้แก้ไข ได้ช่วยเหลือ ได้จัดการ
จำได้ มีการซ่อมแซมระบบกันหลากหลายรูปแบบมากมาย
เรียกได้ว่า เจอมาเยอะ ลุ้นกันตลอด สนุกดีครับ

สิ่งที่ดีที่สุด ในที่สุดก็จบลงด้วยดี ผมคิดว่าผมภูมิใจกับมันมาก
ระบบนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นระบบที่ผมทำเองทั้งหมด ถ้าขาดแรง
กายและแรงใจของน้องๆ ที่ทำงานกันอย่างทุ่มเท มันคงไม่เสร็จลงด้วยดี
แต่ผมก็รู้สึกภูมิใจ ที่ได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมออกแบบ ร่วมเขียนโปรแกรม(บ้าง)
ผมจึงรู้สึกว่า โชคดีที่ได้ทำโปรเจคหลักประกันนี้ แม้ว่าเวลาดีๆนั้น
มักจะผ่านไปเร็ว ตอนนี้ผมก็ได้แต่หวังว่า จะมีโอกาสได้ทำงานดีๆแบบนั้นอีก

ปล. เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ผมได้ร่วมงานด้วย พวกเขายังอยู่ในความทรงจำ นอกเหนือ
จาก
ที่กล่าวไปแล้ว มีดังนี้ครับ
ฝั่งลูกค้า
พี่นัน - เจ้าของระบบเดิม ที่ผมประสานงานด้วยตั้งแต่เริ่มต้นทำ ให้ความร่วมมือ
ดี
แม้บางทีจะไม่ค่อย แต่ก็สบายใจที่ได้ทำงานด้วยเสมอครับ
พี่แจง - เจ้าของระบบเดิมที่มาดูแลแทนพี่นัน เพราะวันที่พาราเลล พี่นันก็ลาออก
:(
พี่เอก - ขาดไม่ได้เลยลูกค้าฝั่ง user ที่ให้ความร่วมมือเสมอๆ แถมยังส่งรูปดีๆ
มาให้ดู
(เพราะผมดันส่งไปให้ก่อน เนื่องจากส่งให้ผิดคน ทำให้พี่เค้านึกว่าผมชอบ Haha)
ฝั่งบริษัท
น้องๆ ที่ถนนศรี - ที่ให้ความร่วมมือ ตอนเกิดปัญหาเรื่องแบทซิงค์ และการคลี
นซิ่ง
พี่หลิ่ม พี่อุ๊ - ช่วยประสานงาน ช่วยทดสอบ ช่วย Fight ช่วยคิดวิธีทาง business
พี่จ๊วต - ผู้ให้ความสนับสนุนเสมอมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น